Column Right

การศึกษาขั้นพื้นฐานออนไลน์



การศึกษาขั้นพื้นฐาน 
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุด ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประชากรในชาติให้มีภูมิรู้ มีความเข้มแข็ง โดยรัฐบาลระบุไว้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้ต้องจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษาได้แบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ 
  1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานี้อาจจัดเป็นสถานรับเลี้ยงดูเด็ก ศูนย์เด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาล หรือจัดเป็นชั้นเด็กเล็กในโรงเรียนประถมศึกษา
  2. การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานและให้สามารถคงสภาพอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณ ได้มีความสามารถประกอบอาชีพตามควรแก่วัยและความสามารถ ดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การจัดสถานศึกษาระดับประถมศึกษา พึงจัดเป็นตอนเดียวตลอดใช้เวลาเรียนประมาณ 6 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะกำหนดอายุเข้าเกณฑ์ ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และความพร้อมของเด็ก แต่ต้องไม่บังคับเด็ก เข้าเรียนก่อนอายุครบ 6 ปี บริบูรณ์ และไม่ช้ากว่าอายุครบ 8 ปี บริบูรณ์
  3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาที่ต่อจากระดับประถมศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ และความถนัด เพื่อให้บุคคลเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนตอนละประมาณ 3 ปี นับว่าเป็นการศึกษาระดับกลาง ซึ่งจัดขึ้นสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุประมาณ 12 - 17 ปี ให้ได้เรียนหลังจากจบประถมศึกษาและเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป ผู้ที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา อาจจะออกไป ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ หรือศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนกลุ่มวิชาการ วิชาชีพตามความถนัด และความสนใจ ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พึงให้ผู้เรียนได้เน้นการเรียนกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนจะยึดเป็นอาชีพต่อไป
องค์ประกอบของการจัดการศึกษาในระบบ 

องค์ประกอบของการจัดการศึกษา มีดังต่อไปนี้ 
  1. สาระเนื้อหาในการศึกษา
    การจัดการศึกษาในระบบ จะจัดทำหลักสูตรเป็นตัวกำหนดเนื้อหาสาระหลักสูตรในหลักสูตรกลางแต่ละระดับ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับท้องถิ่นได้ด้วย โดยมีเนื้อหาสาระที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ทั้งนี้ต้องทบทวนเนื้อหาสาระ เพื่อปรับแก้ไขให้ถูกต้องทันสมัย และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน
  2. ครู ผู้สอน หรือผู้ให้การเรียนรู้ ผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ
    ได้แก่ ครู และอาจารย์ ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบอาชีพชั้นสูง บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมทั้งในด้านเนื้อหา และวิธีการถ่ายทอด เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ และสาระวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สื่อและอุปกรณ์สำหรับการศึกษา
    เช่น อาคารสถานที่ โต๊ะเก้าอี้ กระดานเขียน หนังสือ แบบเรียน สมุด ดินสอ ตลอดทั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่มีราคาแพงทั้งหลาย เช่น อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อและอุปกรณ์เหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษา
  4. รูปแบบวิธีการเรียนการสอน
    การศึกษาในระบบยุคปฏิรูปการศึกษา เน้นความสำคัญที่ตัวผู้เรียน รูปแบบวิธีการเรียนการสอนใหม่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การระดมความคิด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนำชมนอกสถานที่เรียน การใช้อุปกรณ์เครื่องมือประกอบ
  5. สถานศึกษาและบรรยากาศแวดล้อม
    การจัดการศึกษาในระบบ ยังต้องอาศัยชั้นเรียนยังเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นอาคารสถานที่ห้องเรียน และบรรยากาศแวดล้อมที่ใช้ในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งจะต้องจัดบรรยากาศแวดล้อมที่เอื้อการเรียนรู้
  6. ผู้เรียน
    ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา เพราะผู้เรียนคือผู้รับการศึกษาและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา การปรับเปลี่ยนความรู้และพฤติกรรมของผู้เรียน เป็นดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาจึงครอบคลุมขั้นตอนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ตั้งแต่ การเตรียมความพร้อม สำหรับการเรียนรู้ การให้การศึกษาอบรมการประเมินและการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง

องค์ประกอบทั้ง 6 เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนมาตลอด จากชั้นเรียนที่มีครูเป็นผู้ถ่ายทอดสาระการเรียนรู้ พร้อมสื่อประกอบการเรียนรู้ต่างๆ พัฒนาการของสื่อประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้วยสิ่งจำลอง แผนภูมิ เทปเสียง วิทยุ เครื่องฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง โทรทัศน์ และอื่นๆอีกมาก 


Analog ได้สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาสื่ออื่นๆตามมามากมาย สิ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวงการศึกษานั่นคือการมาของระบบคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ความเสมือนจริงในลโลกของการเรียนรู้ขยายขอบเขตกว้างไกลไปอีก จากยุค CAI ที่ยืนยง แต่ด้วยวิวัฒนาการส่งผลให้ Analog ต้องเสื่อมสลาย CAI ก็ถูกแทนที่ด้วยการออนไลน์ผ่าน e-learning โลกของ Digital ก้าวมาแทนที่ Analog เกือบหมดสิ้น



และด้วยสภาพการเปลี่ยนแปลง รวมถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงเทคโนโลยีเครือข่าย ส่งผลต่อวงการศึกษา รวมถึงการศึกษาออนไลน์ในยุคแรก ต้องมาสู่การปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อเทคโนโลยีของ Mobile Device โดยเฉพาะ Smartphone เติบโตจนมีความสามารถเข้าถึงเว็บไซต์รวมถึงเหล่าข้อมูลต่างๆที่ออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการก้าวเข้ามาของอีกช่องทางเลือกของการศึกษาเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี Mobile 



สถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษาทั่วโลก ต่างตื่นตัว มุ่งพัฒนาเพิ่มช่องทางในการศึกษาเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเครือข่าย ทั้งออกแบบหรือสร้างระบบเอง หรือการใช้ Web Applications ที่มีให้บริการ ทั้งแบบเสียเงิน แบบสมาชิก หรือ แบบให้บริการฟรี หนึ่งใน Web Application ที่นับได้ว่าสมบูรณ์ที่สุดก็คือ G-Suite for Education 




ซึ่ง G-Suite for Education  มีคุณสมบัติที่เด่นๆหลายประการ



หลักการจัดการศึกษาออนไลน์




การขับเคลื่อนเพื่อดำเนินการจัดการศึกษาออนไลน์โดยเฉพาะในระดับขั้นพื้นฐาน ประเด็นจะอยู่ที่

1.ทิศทาง นโยบายในการจัดการศึกษาออนไลน์ในแต่ละระดับของการศึกษา

2.พื้นฐานความเข้าใจ ความพร้อม ความจริงจังของครู และบุคลากรทางการศึกษา 
3.สถานศึกษามีความพร้อมและการให้การสนับสนุนในการจัดการศึกษาออนไลน์

4.เกณฑ์มาตรฐานหรือคุณภาพของการศึกษาออนไลน์ คืออะไร





สรุป 
การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆคือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโทและปริญญาเอก



ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget