Column Right

(2)รูปแบบของชุมชน

 ในการสร้างฐานข้อมูลความรู้ชุมชน ผู้สร้างจะต้องเข้าใจหลักการและความหมาย รวมถึงความสำคัญของชุมชนก่อน ซึ่งศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชน : Thailand Knowledge Portal หรือ TKP ได้นำมาเป็นแนวทางและประยุกต์ต่อการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายนี้

นักวิชาการไทยได้กล่าวถึงรูปแบบของชุมชนที่ให้ความหมาย แนวคิดหลากหลายมุมมอง แต่โดยสรุปแล้วต่างมีความคล้ายคลึงกันมาก อาทิ

แนวคิดของ ฑิตยา สุวรรชฏ (2527) กล่าวว่า โดยทั่วไปชุมชนจะต้องมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ชุมชนในฐานะเป็นอาณาบริเวณ การพิจารณาชุมชนในข้อนี้มิใช่เฉพาะเป็นบริเวณที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนเท่านั้น ยังต้องพิจารณาถึงมิติต่าง ๆ เช่น ในฐานะที่อยู่อาศัยของการใช้พื้นที่ และในฐานะที่เป็นบริเวณของชุมชน
2. ชุมชนในฐานะที่เป็นที่รวมประชากร โดยจะเน้นที่ลักษณะของประชากรที่อยู่ในบริเวณชุมชน ในด้านที่สำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงประชากรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โครงสร้างประชากร เช่น สัดส่วนเพศชาย เพศหญิง อายุประชากร อาชีพ และการศึกษา สุขลักษณะ เป็นต้น
3. ชุมชนในฐานะที่เป็นระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกที่มีอยู่ในชุมชนและความสัมพันธ์กับชุมชน โดยพิจารณาถึงระบบความสัมพันธ์ของชุมชนจะประกอบด้วยความสัมพันธ์ย่อย เช่น ความสัมพันธ์ของครอบครัว เครือญาติมิตรสหายระบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระบบความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น

ไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2524) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของชุมชนที่มีความสัมพันธ์ในระบบต่าง ๆเป็น 5 ประการ คือ
1. คน
2. ความสนใจ
3. อาณาบริเวณ
4. การปฏิบัติต่อกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก

สนธยา พลศรี (2533) ได้กล่าวถึง ชุมชนในฐานะหน่วยทางสังคม โดยการแบ่งชุมชนออกเป็นลักษณะต่าง ๆได้แก่
1. การแบ่งตามจำนวนพลเมือง เช่น หมู่บ้าน เมือง นคร
2. การแบ่งตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ชุมชนอุตสาหกรรม ชุมชนการปกครอง
3. การแบ่งตามความสัมพันธ์กับหน่วยงานรัฐ เช่น ศูนย์ผู้อพยพ
4. การแบ่งตามลักษณะพิเศษของประชากร เช่น ไชน่าทาวน์
5. การแบ่งตามลักษณะทางด้านนิเวศวิทยา เช่น ย่านการค้า เหมืองแร่
6. การแบ่งตามลักษณะกิจกรรมทางสังคม เช่น ศูนย์การขนส่ง
7. การแบ่งตามหน่วยการปกครอง เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
8. การแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม เช่น ชุมชนชนบท ชุมชนเมือง

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข (2536) แบ่งชุมชนออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1. ลักษณะของชุมชนแบ่งตามการบริหารการปกครอง ซึ่งแบ่งโดยการพิจารณาจากลักษณะการปกครองของไทยได้แก่ ชุมชนหมู่บ้านชุมชนเขตสุขาภิบาล ชุมชนเขตเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร และกรุงเทพมหานคร
2. ลักษณะของชุมชนแบ่งตามกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ ชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนศูนย์การค้า ศูนย์กลางขนส่ง เขตอุตสาหกรรม ชุมชนศูนย์กลางของการบริการ
3. ลักษณะของชุมชนแบ่งตามความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม เป็นการแบ่งชุมชนในแง่ของความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ ชุมชนชนบท ชุมชนเมือง

ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget