Column Right

ทิศทางการจัดการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

นับตั้งแต่การก้าวเข้าสู่ Education 4.0 ที่ยึดถือการเปลี่ยนผ่านที่อ้างอิงของ Web era ทุกช่วงเวลา 10 ปี (2020-2030) โลกของการศึกษายุค Education 4.0 แห่งศตวรรษที่ 21 จะพลิกโฉมรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงทักษะที่จำเป็นและสอดคล้องต่อการจัดการศึกษาสำหรับครูผู้สอนและสถานศึกษา ประจวบกับวิกฤตโควิด-19 ทั่วโลก ที่กำลังเปลี่ยนแปลงสภาพของเศรษฐกิจ วิถีชีวิตการทำงาน การดำรงชีวิต รวมถึงวิถีแห่งการศึกษาเรียนรู้ทั่วโลก

ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศที่ปรับสภาพตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ช่วงเวลาในรอบปี(2021)ที่ผ่านมา mind set หรือ ชุดความคิดคำว่า ON  คือ online, on air และ on-site (และ On-Demand กับ On-Hand) กลายเป็นคำพิมพ์นิยมที่นักการศึกษาได้นำมาพูดถึง และกล่าวอ้างกันอย่างแพร่หลาย  วันนี้ เส้นทางของสารพัด ON ดังกล่าว ได้กลับมาเป็นอีกประเด็นสำคัญในทางปฏิบัติของสถานศึกษาตามความพร้อมและศักยภาพของสถานศึกษา ในส่วนของ online ครูหลายคน ต้องแสวงหาวิธีการที่เหมาะสม บนเทคโนโลยีเว็บนำมาสร้างฐานการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนรู้  ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่ก็ถือว่าครูคือพลังสำคัญ ในการวางรากฐานการศึกษา ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ ส่วนบน และส่วนล่าง ทั้งส่วนบริหาร ส่วนปฏิบัติการ จะร่วมกันผสานแนวคิด สร้างแนวทางการศึกษาร่วมกัน บนหลักการ วิธีการ  รวมถึงเทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  สิ่งที่ได้ ต้องกระจายส่งต่อระดับพื้นที่เพื่อนำไปสู่การใช้งานร่วมกัน




Subsets of Distance Learning (Urdan ve Weggen, 2000 : 9)

เป็นที่ยอมรับกันว่า เทคโนโลยีเป็นอีกพลังสำคัญของการขับเคลื่อนโลกในเกือบทุกๆด้าน รวมถึงด้านการศึกษา นักการศึกษาได้กำหนดรูปแบบหรือโมเดลการศึกษาเรียนรู้ที่ผูกติดกับเทคโนโลยีไว้ 4 แบบ ที่มีผู้สรุปไว้ตั้งแต่ Education Era ยุคที่ 2 หรือ Education 2.0 (ช่วงปี 2000) ภาพรวมทั้ง 4 แบบได้แก่ Computer-based Learning, Online Learning, E-Learning และ Distance Learning และหากจะมองถึงนิยามและภาพรวมกันจริงๆ Distance Learning ถ้ามีการออกแบบที่ดีและครอบคลุมสนองตามความสามารถของผู้เรียนแล้ว ทั้ง Computer-based Learning, Online Learning หรือ E-Learning ต่างเป็น Subset ของ Distance Learning แทบทั้งสิ้น แม้ว่าในความเป็นจริง ทั้ง Computer-based Learning, Online Learning และ E-Learning ต่างก็สามารถขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเต็มรูปแบบด้วยตัวมันเองได้



Learning technologies, modes and relationships (based on Urdan & Weggen, 2000)

จากแผนภาพด้านบนที่ปรากฏในช่วงปี 2000 นักการศึกษาได้มองและคาดการณ์ ถึงรูปแบบการจัดการศึกษาในอนาคต โดยแยกย่อย เพิ่มเติมรูปแบบการจัดการศึกษา อีกสองรูปแบบคือ  CD-ROM Based Learning และ Mobile Learning และขยายความคำว่า Online Learning เป็น Web-Based (Online) Learning ยี่สิบปีผ่านไป CD-ROM Based Learning กลายเป็นตำนาน แทบสูญหายเพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไม่ได้ให้ความสำคัญกับสื่อ CD-ROM (เห็นได้จาก notebook หลายแบรนด์ หลายรุ่น ได้ตัด optical drive หรือ CD-ROM Drive ออกเกือบหมด) คงเหลือแต่ Mobile Learning ที่กำลังเติบโต บน Mobile ประเภท Smartphone อย่างต่อเนื่อง



หากรวมกับการศึกษาเรียนรู้ในแบบชั้นเรียน(Classroom) วิธีการจัดการศึกษาที่ผ่านมาก็มีอยู่ 5 รูปแบบหลักๆ ซึ่งทั้ง 5 รูปแบบนี้ยังคงพบได้ในปัจจุบัน และจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ที่มีพัฒนามาตลอดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การศึกษาบนฐาน 5 รูปแบบดังกล่าว ได้แยกย่อยและพัฒนาส่วนขยาย ออกเป็นรูปแบบอื่นๆ อาทิ
1.ศึกษาด้วยตนเองด้วยเอกสารและสื่อประกอบ (learn from documents and media)
รูปแบบการศึกษารูปแบบนี้เป็นรูปแบบพื้นฐานดั้งเดิม ตามหลักการแล้วการศึกษารูปแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือ subset ของ distance learning ในอดีต และยังคงเป็นระบบหลักที่มีใช้ในวงการศึกษาปัจจุบัน อาทิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือ การเรียนของนักศึกษา กศน. 
องค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย
(1)ส่วนของสาระหรือเนื้อหาบทเรียน(ที่ไม่ใช่แบบตำรา) ออกแบบพัฒนาขึ้นเพื่อการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
(2)กิจกรรมประกอบบทเรียนหรือท้ายบทเรียน
(3)สื่อเสริมหรือสื่อสนับสนุนประกอบบทเรียน อาทิ สื่อเสียงคำบรรยาย หรือสื่อวิดีทัศน์ หรือ YouTube หรือ Video on Demand
(4)ช่องทางติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอน 
(5)ส่วนสนับสนุนอื่นๆ อาทิ แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดประจำท้องถิ่น อินเทอร์เน็ต
2.ศึกษาผ่านชั้นเรียน (Studying in class หรือ On-site learning)
ชั้นเรียนหรือ Classroom เป็นอีกหนึ่งของรูปแบบพื้นฐานที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เป็นระบบการศึกษาที่ยังคงเป็นระบบหลักของสถานศึกษาภายใต้หลักเกณฑ์การจัดการศึกษาของแต่ละประเทศ เป็นระบบที่มีครูหรือผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอด เป็นที่ปรึกษา หรือผู้ชี้นำการเรียนรู้ มีสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงส่วนสนับสนุนต่างๆ อย่างสมบูรณ์ตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา
 องค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย
(1)หนังสือ เอกสารบทเรียน 
(2)กิจกรรมประกอบบทเรียนหรือท้ายบทเรียน
(3)สื่อเสริมหรือสื่อสนับสนุนประกอบเนื้อหาที่ครูผู้สอนนำมาใช้ในชั้นเรียน 
(4)ส่วนสนับสนุนอื่นๆ อาทิ ห้องสมุดในสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ใกล้เคียงหรือในสถานศึกษา อินเทอร์เน็ต

3.ศึกษาด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ (Learn from website หรือ Online Learning)
ถือเป็นรูปแบบของการศึกษาเรียนรู้ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บนเว็บเทคโนโลยีและเทคโนโลยีการสื่อสาร เส้นทางของการศึกษาเรียนรู้รูปแบบนี้ เป็นได้ทั้งระบบ(สื่อ)หลัก ระบบ(สื่อ)สนับสนุน และระบบ(สื่อ)เสริม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรฐาน SCORM โดยแสดงผลได้ดีในทุกอุปกรณ์ด้วย Responsive ทำให้รูปแบบนี้สามารถรองรับการศึกษาผ่าน Mobile Apps ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน Online Learning ที่หลายคนอาจเข้าใจว่า เหมือนกับ e-Learning แต่แท้จริงแล้ว Online Learning เป็นรูปแบบที่มุ่งพัฒนาบนแกนของเว็บมาโดยตลอดมาจึงมีผู้เรียกว่า Web-based Learning อีกชื่อหนึ่ง Online Learning จึงเป็นระบบการศึกษาที่มีความพร้อม
โดยองค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย
(1)ส่วนของสาระหรือเนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบและพัฒนาสำหรับการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองบนหน้าเว็บ
(2)กิจกรรมประกอบในหน้าบทเรียน
(3)สื่อเสริมหรือสื่อสนับสนุนประกอบหน้าบทเรียนออนไลน์ อาทิ Animation, ไฟล์เสียง และ(หรือ)วิดีทัศน์
(4)ช่องทางติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอน และผู้ร่วมหลักสูตร อาทิ กระดานข่าว จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(5)ส่วน(ระบบ)วัดผลประเมินผล และการติดตามผู้เรียน

4.ศึกษาผ่าน Computer-based Learning
Computer-based Learning เป็นอีกระบบ(สื่อ)หลักในอดีตที่เคยเฟื่องฟูในยุคปี 1995-2010 ระบบการเรียนรู้แบบนี้รู้จักในชื่อของ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) เป็นอีกวิธีการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้ศึกษาเรียนรู้ หรือแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งโดยธรรมชาติของ CAI นี้ มาจากหลักการที่มีการส่งผ่านปริมาณเนื้อหาที่ละส่วน มีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถตรึงพฤติกรรมต่อการเรียนรู้ มีกระบวนการย้อนกลับเพื่อแสดงผลสัมฤทธิ์ หรือความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ปัจจุบัน CAI ได้เสื่อมความนิยมลง แต่ได้มีการพัฒนาระบบ(สื่อ)ในลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบใหม่ ที่มีเนื้อหาเฉพาะเรื่องสั้นๆที่ชื่อว่า Learning Object หรือ LO อีกทั้งยังมีการพัฒนาระบบ(สื่อ)ลักษณะพิเศษ ในรูปของสถานการณ์จำลอง (Simulation หรือ Simulation Based Learning) เพื่อใช้เป็นฐานเพื่อการเรียนรู้ การฝึกอบรม โดยทำการสร้าง Story จำลอง จากสถานการณ์จริง อาทิ การฝึกหัดการบิน แพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ ซึ่งการศึกษาเรียนรู้รูปแบบนี้ จำเป็นต้องมีครูหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหาในด้านนั้นๆทำการควบคุมการกำหนดสถานการณ์ การเรียนรู้ เป็นการเฉพาะ นับได้ว่า ระบบ(สื่อ)การเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ ดังกล่าวจะเข้ามาแทนที่ CAI บนฐานของระบบ(เครื่อง) คอมพิวเตอร์ ในรูปแบบเดิม
องค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย
(1)ระบบคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่จะเป็นระบบเฉพาะในสถานที่ฝึกอบรม
(2)คู่มือประกอบการฝึกอบรม/เรียนรู้และการบันทึกผล
(3)ผู้ควบคุมโปรแกรม
(4)ส่วน(ระบบ)วัดผลประเมินผล และการติดตามผู้เรียน
5.ศึกษาผ่าน Mobile Apps (Apps)
Mobile Application (โมบาย แอพพลิเคชั่น) คือ โปรแกรมการศึกษาเรียนรู้ ที่ออกแบบมามุ่งเน้นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้ง Smartphone และ Tablet ลักษณะของ Apps การศึกษาส่วนใหญ่ ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น จะพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของ(ผู้ใช้)งาน Apps ที่สร้างจะเชื่อมโยงข้อมูลหรือสาระการเรียนรู้ ผ่านเทคโนโลยีของ Web-Based เป็นหลัก ข้อมูลหรือสาระการเรียนรู้จะคล้ายๆกับที่แสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ เพียงแต่ปรับรูปแบบการแสดงผล เพิ่มส่วนติดต่อการเข้าถึงด้วยระบบสำผัสบนฟอร์มของสมาร์ทโฟนแทน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือผลิตภัณฑ์หนึ่งของ Google ในชื่อว่า Google Classroom ที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็นสื่อหลักได้ ปัจจุบันพบว่าโปรแกรมเพื่อการศึกษาเรียนรู้เหล่านี้มีผู้พัฒนามากมายในลักษณะระบบ(สื่อ)สนับสนุน และ ระบบ(สื่อ)เสริม บนอุปกรณ์ Mobile ทั้งระบบปฎิบัติการ Android และ iOS
โดยองค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะประกอบด้วย
(1)ส่วนของสาระหรือเนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบและพัฒนาสำหรับการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
(2)กิจกรรมประกอบในหน้าบทเรียน
(3)สื่อเสริมหรือสื่อสนับสนุนบนหน้า Mobile อาทิ Animation, ไฟล์เสียง และ(หรือ)วิดีทัศน์
(4)ช่องทางติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอน และผู้ร่วมหลักสูตร อาทิ กระดานข่าว จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(5)ส่วน(ระบบ)วัดผลประเมินผล และการติดตามผู้เรียน

นอกจาก 5 รูปแบบหลักข้างต้นแล้ว ยังมี Subset อื่นๆ ที่แยกย่อยออกมาจาก Distance Learning และ electronic learning (e-learning) และได้รับความนิยม อาทิ

6.ศึกษาด้วยตนเองผ่าน(โปรแกรม)รายการโทรทัศน์ (Learn from a TV / Learning through television programs)
(โปรแกรม)รายการโทรทัศน์ เป็นหนึ่งใน subset ของ electronic learning หรือ e-Learning ซึ่งการศึกษาเรียนรู้ด้วยช่องทางนี้ อาจจะไม่เบ็ดเสร็จ หรือสมบูรณ์ในตัว แม้ว่ารายการหรือโปรแกรมโทรทัศน์จะมีศักยภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด แต่(โปรแกรม)รายการโทรทัศน์ ดังกล่าวไม่อาจทดแทนระบบ(สื่อ)หลัก ที่เป็นการเรียนรู้แบบเต็มหลักสูตรในสถานศึกษาได้  
(โปรแกรม)รายการโทรทัศน์ เป็นได้แค่ระบบ(สื่อ)สนับสนุน และระบบ(สื่อ)เสริม ที่ใช้ร่วมกับการศึกษาเรียนรู้รูปแบบอื่นๆข้างต้น
แต่ถ้านำ
(โปรแกรม)รายการโทรทัศน์มาใช้ในการจัดการศึกษาเฉพาะเรื่อง ส่งผลให้เป็นอีกสื่อที่มีประสิทธิภาพต่อการตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
ปัจจุบัน
(โปรแกรม)รายการโทรทัศน์ ได้มีการนำหรือปรับกระบวนการถ่ายทอดจากช่องทางสัญญาณโทรทัศน์มาสู่ช่องทางอินเทอร์เน็ตแทน รูปแบบที่เห็นได้ชัด ก็คือ YouTube  
โดยองค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะใช้ร่วมกับการศึกษาเรียนรู้รูปแบบอื่น (5 รูปแบบข้างต้น)

7.ศึกษาด้วยตนเองผ่านไฟล์มัลติมีเดีย (Learn from Multimedia Files)
ปัจจุบัน Mobile Device ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Notebook, Tablet หรือ Smartphone มีความสามารถในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียพื้นฐาน (เสียงและวิดีทัศน์)ได้ ซึ่งไฟล์มัลติมีเดียพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ มีทั้งแบบ online และ offline ซึ่งปัจจุบัน ไฟล์เสียง เป็นสื่ออีกประเภทที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามติดไฟล์วิดีทัศน์ มีผู้ผลิตสาระเนื้อหาประเภทเสียงมากขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนา Apps สำหรับใช้ฟังสาระเนื้อหาเสียงที่หลากหลาย ทั้งแบบ online และ offline อาทิ เช่น Spotify, Apple Podcast, Sound Cloud, Podcast Go, Thailand Podcast และ Google Podcasts เป็นต้น โดยไฟล์มัลติมีเดียก็เป็นอีกหนึ่งใน subset ของ electronic learning ลักษณะของการศึกษาเรียนรู้ประเภทนี้จะอยู่ในลักษณะของระบบ(สื่อ) สนับสนุน และระบบ(สื่อ)เสริม เท่านั้น
แต่ถ้านำไฟล์มัลติมีเดีย(เสียงและวิดีทัศน์) มาใช้ในการจัดการศึกษาเฉพาะเรื่อง ส่งผลให้เป็นอีกสื่อที่มีประสิทธิภาพต่อการตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
โดยองค์ประกอบของการศึกษารูปแบบนี้จะใช้ร่วมกับการศึกษาเรียนรู้รูปแบบอื่น (5 รูปแบบข้างต้น)

หมายเหตุ
1.รูปแบบการศึกษาต่างมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน เป็นได้ทั้งอิสระและใช้สนับสนุนร่วมกัน
2.การนำ content มารวมกันไว้ในคลังแล้วจัดระบบเพื่อให้ผู้เรียนเลือกรายการ content เหล่านั้นนำมาศึกษาเรียนรู้อีกหรือเรียนรู้ซ้ำ วิธีการเหล่านี้เรียกว่า On Demand โดย content ดังกล่าวส่วนใหญ่ก็คือรายการ Video คำบรรยายการเรียนการสอน (บางสถานศึกษาเรียกว่า COURSE ON DEMAND)
3.On Demand เป็นหลักการที่นำมาใช้ที่หลากหลายทั้งในแวดวงธุรกิจ ความบันเทิง การศึกษา ต่างๆ มีชื่อเรียกต่างกัน อาทิ  Movies on Demand, Interactive video games, Interactive news television, Software on Demand, Catalog browsing, Interactive advertising และ Distance Learning (ซึ่งอนาคตจะได้นำเรื่องเหล่านี้มานำเสนอ)

บทความนี้ปรับปรุงจากการบรรยาย แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยี ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. ช่วงปี 2558-2563

ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget