Column Right

แนะนำวิธีเลือกซื้อ Notebook ใช้เพื่อการศึกษา

แม้กระแสด้านเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนจะขยาย เติบโต และกลายเป็นอีกอุปกรณ์สำคัญของการศึกษา แต่สำหรับวงการครูบาอาจารย์ ที่ปัจจุบันนี้ จะต้องเกี่ยวข้องโดยตรงหรือทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นผู้สร้าง หรือผู้บริหารจัดการสื่อการเรียนการสอน หรือผู้พัฒนาระบบ อุปกรณ์สำคัญที่ต้องมีใช้เพื่อสนับสนุนการศึกษาดังกล่าว ก็คือคอมพิวเตอร์ประเภทตั้งโต๊ะหรือ Notebook เป็นส่วนสำคัญ ประเด็นพิจารณาส่วนใหญ่ครูจะเลือกใช้ Notebook เรามาดูกันว่าหากคุณครูจะซื้อ Notebook สักเครื่อง ควรจะมองในประเด็นใด และมีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างไรบ้าง 

ประเด็นที่ควรพิจารณา มีอยู่ สามหรือ สี่ประเด็น
1.ประเภทของการใช้งาน
1.1 สร้างสื่อ(ระบบ)มัลติมีเดีย
ประเภทนี้ จะต้องใช้ สเปคที่สูง ยิ่งสูงราคายิ่งแพง 
1.2 สร้างสื่อพื้นฐานทั่วไป

2.ราคา
2.1 ราคาไม่เกิน 20,000 บาท 
เป็น Notebook ระดับพื้นฐานทั่วๆไป แรมจะอยู่ที่ 4-8 GB
2.2 ราคา 20,000 - 30,000 บาท 
เป็น Notebook ระดับกลาง ที่มี CPU ใช้งานได้ดี แรมจะอยู่ที่ 8-16 GB
2.3 ราคา 30,000 บาทขึ้นไป 
เป็น Notebook ระดับสูง ที่มี CPU ระดับ Intel Core i7 / AMD Ryzen 7 จนถึง Intel Core i9 / AMD Ryzen 9 โดยจะมีแรมจะอยู่ที่ 16 GB ขึ้นไป
3.น้ำหนัก
เป็นอีกปัจจัยที่ควรพิจารณา น้ำหนักโดยทั่วไปในขนาด 14 นิ้ว จะอยู่ที่ 1.2 - 2 กิโลกรัม

4.วัสดุตัวเครื่อง
เป็นอีกปัจจัยที่อาจจะต้องนำมาพิจารณาในด้านความแข็งแรง เพราะบางแบรนด์จะใช้พลาสติกผสมโลหะ (ราคาก็จะไม่สูงมากนัก)  บางแบรนด์ก็เป็นโลหะผสมล้วน

ลักษณะพื้นฐานที่ควรมี
1.คุณลักษณะเฉพาะ
ตรงส่วนนี้จะมุ่งเน้นไปใน สามส่วนย่อย
1.1 หน่วยประมวลผล(CPU)
ปัจจุบันจะมีสองค่ายหลักคือ  Intel หรือ AMD ซึ่งจะมีสมรรถนะที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าIntel หรือ AMD ต่างก็มีรุ่นย่อยแยกอีก ฝั่ง Intel จะชูมาตรฐาน EVO แต่ฝั่ง AMD ก็จะมีราคาที่ย่อมเยากว่า เรามาดูรุ่นย่อยกัน 
Intel Core i3 / AMD Ryzen 3
CPU ระดับเริ่มต้น อยู่ใน notebook ราคา ไม่เกิน 20,000 บาท เน้นทำงานทั่วไป
Intel Core i5 / AMD Ryzen 5
CPU ระดับกลาง อยู่ใน notebook ราคา ช่วง 20,000-30,000 บาท ทำงานได้ดี เล่นเกมก็ได้
Intel Core i7 / AMD Ryzen 7
CPU ระดับสูง อยู่ใน notebook ระดับสูง ราคา 30,000 บาทขึ้นไป เหมาะการประมวลผลด้านมัลติมีเดีย งานกราฟิกที่มีหลายๆเลเยอร์ หรือเล่นเกม
Intel Core i9 / AMD Ryzen 9
CPU ระดับแรงสุด อยู่ใน notebook ราคาหลักเเสน 


1.2 หน่วยความจำชั่วคราว(RAM)
ประเด็นพิจารณา ให้เลือกซื้อที่มีแรมไม่ต่ำกว่า 8 GB สำหรับการใช้งานทั่วๆไป แต่ถ้าต้องมีการสร้างสื่อ(ระบบ)มัลติมีเดีย ควรเลือกแรมไม่ต่ำกว่า 16 GB 

1.3 การ์ดจอ
มีทั้งแบบฝังในตัว CPU และแบบการ์ดจอแยก ซึ่งปัจจุบัน แบบฝังในตัว CPU ก็มีประสิทธิภาะค่อนข้างดีกว่ารุ่นก่อนในอดีตมากๆ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้งานประมวลผลมากๆการมี การ์ดจอ (Graphic Card) แยก ก็จะมาช่วยเเบ่งเบาภาระของ CPU  รวมถึงไม่ต้องสิ้นเปลือง RAM ด้วย 


1.4 หน่วยความจำหลัก สำหรับจัดเก็บข้อมูล
แต่เดิมหน่อยเก็บข้อมูลจะมี 2 แบบหลักๆ คือแบบจานแม่เหล็ก(ดั้งเดิม) HDD (Hard Disk Drive) และแบบโซลิด สเตท(Solid State Drive – SSD) SSD ถือเป็นมาตรฐานใหม่ไปเเล้วสำหรับ Notebook ยุคนี้  ปกติเราจะพบว่าพื้นที่จัดเก็บจะอยู่ระหว่าง 128 GB -256 GB (ปัจจุบันค่ามาตรฐานอยู่ที่ 512 GB) ประเด็นพิจารณา ตรงส่วนนี้ ต้องพิจารณาดีๆ 



2.ส่วนเชื่อมต่อ(Port)ต่างๆ
ส่วนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาเพื่อซื้ออีกประเด็นหนึ่ง เพราะเป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อข้อมูล ทั้งนำเข้าหรือส่งออก มี Port ที่จำเป็นต้องใช้งานจริงๆ ดังนี้
2.1 USB Type A  3.0
เป็น Port พื้นฐาน ที่ควรมีใช้ บนมาตรฐาน 2.0 หรือ 3.0 
2.2 USB Type C
เป็น port อีกมาตรฐานที่ควรมีใช้ บางเครื่องบางรุ่น สามารถใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานของเครื่อง
2.3 HDMI
สำหรับเชื่อมต่อจอแสดงผล หรือ projector 
2.4 Card Reader
สำหรับใช้อ่านข้อมูล
2.5 Audio 3.5 mm
นับเป็น Port ที่จำเป็นต้องมี  Notebook บางแบรนด์เคยละเลยไม่ใส่ Audio 3.5 mm นี้ไป ก็ทำให้เป็นจุดที่ต้องพิจารณา
นอกจากนี้ บางรุ่นก็จะมี Port ที่ถือเป็นอีกมาตรฐานใหม่ นั่นคือ Thunderbolt (ศึกษาเพิ่มเติม) ที่จะรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆที่หลากหลาย ทำงานในหลายๆหน้าที่

3.ขนาดหน้าจอและคุณภาพของการแสดงผล
ในส่วนตรงนี้ เป็นรายละเอียดที่หลายคนไม่ได้ไปพิจารณา มี 2 เรื่องใหญ่ คือ
3.1 ขนาดหน้าจอ 
ขนาดปกติ จะอยู่ที่ 13 - 14 นิ้ว นอกจากนี้ ก็ จะมีขนาด 15 และ 17 นิ้ว อีกด้วย ซึ่งจะทำให้มีการวาง Number pad หรือแป้นตัวเลขลงในกลุ่มคีย์บอร์ด
3.2 การแสดงผล
โดยจะพิจารณาในรายละเอียดย่อยๆ อาทิ
ความสว่าง
จะมีค่าความสว่างมาตรฐานอยู่ที่ประมาณ 220 – 250 nits หรือในบางรุ่นก็สูงถึง 300 – 350 nits เลยทีเดียว ซึ่งสามารถสู้แสงกลางแจ้งได้ 
Refresh Rate
ซึ่งจริงๆ Refresh Rate ก็มีความสำคัญอย่างมากสำหรับเครื่องที่ต้องรองรับการแสดงผลระดับสูงอาทิงานกราฟิก งานมัลติมีเดีย หรือ เล่นเกม ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาถึงค่าอัตรารีเฟรชหน้าจอ (Refresh Rate) ซึ่งค่าปกติ จะอยู่ที่ 48 Hz และ 60 Hz แต่หากเป็นสายเกมมิ่ง อาจจะเลือกรุ่น ที่รองรับ 144 Hz ซึ่งจะทำให้การเเสดงผลลื่นไหลอยากมากๆ
นอกจากนี้อาจจะต้องพิจารณาในคุณลักษณะเฉพาะด้าน ขอบเขตสีทั้งมาตรฐาน sRGB, AdobeRGB, DCI-P3, NTSC เป็นต้น สังเกตง่ายๆ เลยว่า ถ้าค่าเปอร์เซ็นของขอบเขตสีสูง เช่น 94% NTSC, 100% sRGB ฯลฯ หน้าจอก็จะมีสีสันที่สดใส เม็ดสีละเอียด มองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของภาพได้ดีขึ้น สวยงามมากยิ่งขึ้น

จากคุณลักษณะขั้นต้นหากไม่ใช่นักเล่นกราฟิกหรือเล่นเกมตัวยง  แนะนำให้ซื้อเครื่องที่มี CPU ระดับกลางๆ  Intel Core i5 / AMD Ryzen 5 มี แรมประมาณ 8-16 GB ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลหาก ใช้ SSD ที่มีขนาดใหญ่ 512GB- 1TB ราคาจะสูงมาก เพราะปกตืพื้นที่ 256 GB ก็ถือว่าใช้ได้พอเพียงอยู่แระ การ์ดจอ แบบ Onboard ก็ได้ ที่สำคัญปัจจุบัน เกือบทุกแบรนด์จะมี Windows 10 หรือ 11 และ Microsoft Office 2019 หรือ 2021  ลิขสิทธ์แท้ๆติดมาด้วย ราคาอยู่ในช่วง 25,000 บาท มีหลายยี่ห้อ ก็เลือกเอาตามที่รู้สึกพึงใจด้วย
นอกจากนี้ พัฒนาการของ CPU รุ่นล่าสุด ก็มีความแรง แกร่งเพียงพอในการประมวลผลที่รวดเร็วกว่า รุ่นปี 2020 อย่างมากๆ  ดังนั้น เวลาจะซื้อหากมีเงินทุนที่ยืดหยุ่น หน่อย แนะนำหารุ่นล่าสุด อาทิ INTEL series 12xxxU หรือ 
12xxxH  และ AMD  series 6xxxU หรือ 6xxxH ครับ



ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget