Column Right

infographics : แนวทางการออกแบบ (1) การเลือกใช้ตัวอักษร

 การเลือกใช้ตัวอักษร(ฟอนต์)
นอกจากภาพ ตัวอักษรก็เป็นอีกสื่อกลางในการสื่อความหมาย การขยายความของภาพหลัก หรือสนับสนุนกราฟิกและภาพประกอบให้มีความชัดเจน การเลือกใช้ตัวอักษรที่ดี จะส่งเสริมความน่าสนใจ ความกระหายอยากรู้  การสร้างสรรข้อความตัวอักษรด้านศิลปะ ไม่ว่าจะรูปแบบตัวอักษร สี ขนาด จะมีอิทธิพลสำคัญต่อการเข้าถึงของผู้รับสาร 

วิดีทัศน์ข้างล่างจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงพลังของ การใช้ตัวอักษรข้อความ (Typography)



ข้อแนะนำการใช้ข้อความตัวอักษรสำหรับผู้เริ่มต้นสร้างอินโฟกราฟิก
การสร้างอินโฟกราฟิกที่ดี ไม่ใช่แค่มีภาพที่สื่อความหมายได้ชัดเจน มี กราฟิก และ element มาเพิ่มลวดลายและสีสัน แต่ความสมบูรณ์งานอินโฟกราฟิกที่สมบูรณ์นั้น ข้อความและตัวอักษรหรือฟอนต์ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งให้อินโฟกราฟิกมีความสมบูรณ์มากที่สุด  บทเรียนนี้จะแนะนำ เทคนิควิธีการจัดวาง การใช้ ข้อควรระวังของการใช่ข้อความตัวอักษรหรือ ฟอนต์ เฉพาะส่วนสำคัญ ซึ่งห่างจะศึกษาเนื้อหาเต็มติดตามที่ www.canva.com

Crowding Your Lines: Leading : เว้นระยะบรรทัดให้พอเหมาะ


ข้อความที่มีหลายบรรทัด การเว้นบรรทัดให้พอเหมาะพอดีส่งผลให้การอ่านมีความราบรื่น แต่ถ้าไปบีบ บรรทัด หรือขยายระยะระหว่างบรรทัดให้กว้างขึ้น อาจจะเป็นอุปสารรคต่อการมอง การอ่านได้ 


Not Scaling Proportionally : รักษาความสมดุลย์ของตัวอักษร


ไม่ควรเปลี่ยนรูปทรงของข้อความจนผิดเพี้ยน รูปทรงดั้งเดิม ผู้รับสาร จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่า การบิดเบือนตัวข้อความอาจสร้างความเมื่อยล้า สายตาของผู้รับสาร

Ignoring Readability : ทำสีสันให้ดึงดูด  ไม่สนใจความสามารถในการอ่าน
ความเหมาะสมในการใช้สีตัวอักษรกับฉากหลัง ต้องระวังด้านการกลมกลืน ซึ่งส่งผลเป็นอุปสรรคสำคัญในการอ่านของผู้รับสาร วิธีการที่ดีที่สุดมีพลังดึงดูดมากขึ้นก็คือการเลือกสีสันให้คนอ่านสามารถอ่านได้ง่าย โดยเลือกสีตัวอักษรและฉากหลังให้ตัดกัน 

Ignoring Readability Body Copy : เลือก Font ให้ดี


การเลือกใช้ฟอนต์ในงานอินโฟกราฟิก ควรเป็นอักษรที่อ่านง่าย การใช้อักษรลวดลายอาจใช้ได้กับข้อความสั้นๆ แต่ถ้าเป็นข้อความที่ยาวๆ นั่นก็เป็นอีกหายนะของการสื่อสาร

Not Taking Care of “Orphans” and “Widows” : บรรทัดค้างต้นย่อหน้าและบรรทัดแรกของย่อหน้าที่ถูกแยกออกไปอยู่คนละหน้า


คำบรรยายแม้เป็นสิ่งจำเป็นในการอธิบายความหมาย แต่ถ้าขาดความสนใจของการจัดวางข้อความในแต่ละบรรทัด อาจจะมี “ติ่ง” ข้อความหลุดออกมาเสมอ ส่งผลให้ผู้เรียนหรือผู้รับสาร เกิดสะดุดในการเข้าถึง จนไปถึงการทำลายเนื้อหา 

อีกประการการจัดวางบรรทัดข้อความ คำที่ต่อเนื่องกัน ต้องไม่ตกค้างบรรทัด ซึ่งข้อความที่แยกไปขึ้นบรรทัดใหม่ บางครั้งคำนั้นอาจกลายเป็นอีกคำที่มีความหมายที่เปลี่ยนไป

Double-Spacing After Each Sentence : อย่าใช้ Font หลายตระกูล


นักออกแบบมือใหม่ไฟแรง ที่แสดงพลังในการใช้ฟอนต์มากแบบในข้อความเพียงประโยคเดียว อาจจะเป็นหายนะของอินโฟกราฟิกชิ้นนั้น

Mismatching Fonts : แบบอักษรที่ไม่เข้าพวก

แม้ว่าการเลือกใช้ฟอนต์ต่างแบบบ้าง จะสร้างสีสัน และความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นการแยกหัวเรื่องกับเนื้อหาต่างกัน แต่ต้องระมัดระวังในการเลือก อาทิ ขนาด ความหนาบาง หรือรูปแบบ เพราะบางที การเลือกอาจส่งผลให้หัวเรื่องดูด้อยกว่าที่ควรเป็น 

Not Considering Content :
การเลือกฟอนต์ให้เข้ากับธีมของเรื่อง จะเป็นการส่งเสริมให้เรื่องมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 

Focusing on Form Over Function : 


อินโฟกราฟิก มุ่งเน้นในการทำความเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาและรวดเร็ว การใช้ฟอนต์ลวดลายอาจทำให้การเข้าถึงข้อมูลต้องเกิดอุปสรรค แม้ว่าจะดูสวยงามก็ตาม ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ฟอนต์ลวดลายที่อ่านยากด้วย

Focusing on Form Over Function :
การเน้นข้อความสำคัญอาจเน้นที่ตัวหนา หรือตัวพิมพ์ หรือตัวเอียง หรือขีดเส้นใต้ ข้อความได้  แต่ควรเลือกเพียงประเภทเดียว อย่าใช้หลายประเภท ที่สำคัญไม่ควรเลือกใช้รูปแบบการขีดเส้นกลางข้อความ 

Using ALL CAPS : หัวข้อเรื่องควรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

การใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ เพื่อเป็นการเน้นส่วนหัวเรื่อง ถือว่าเป็นรูปแบบสากล แต่การเน้นหัวเรื่องด้วยรูปแบบตัวเอียงหรือตีเส้นใต้ หรือตัวใหญ่ภายในเนื้อหา จะสร้างความลำบากในการอ่าน

Getting Sloppy with Alignment : อย่าวางแนวตัวอักษรหลากแบบ

การจัดวางตำแหน่งแนวข้อความ ไม่ว่าจะชิดซ้าย ชิดขวา วางกลาง ก็เป็นการจัดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ควรเลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่ง ส่วนจัดวางตำแหน่งข้อความแบบการกระจายข้อความต้องเลือกใช้เฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เพราะการกระทำด้วยวิธีการนี้ จะส่งผลให้ข้อความบางข้อความแยกห่างจนอาจจะทำให้ความหมายเปลี่ยน รวมถึงช่องว่างที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อการสื่อสารได้

Not Fixing Ragged Edges : ปรับแต่งช่วยการวางแนวอักษร


แต่การจัดวางตำแหน่งข้อความโดยอัตโนมัติ ต้องตรวจสอบให้ดี เพราะในบางลักษณะของการจัดท้ายย่อหน้าจะมีสภาพที่มีขอบขาดแบบผ้าขี้ริ้วหรือที่เรียกว่า "rags" วิธีที่ดีที่สุดคือ ผู้พัฒนาต้องช่วยจัดข้อความเองด้วยจะทำให้ข้อความดูดีขึ้น

Adding Special Effects : ระวังการใช้อักษรเทคนิค

สื่อสารตรงๆผ่านข้อความปกติ หลีกเลี่ยงการใช้ หรือควรระวังการใช้ "WordArt" การใช้เอฟเฟกต์นูนหรือเงา ซึ่งเอฟเฟกต์นูนและเงานั้น อาจจะไปรบกวนข้อความในอีกบรรทัดหนึ่งก็ได้ 

ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget