Column Right

แนะนำสร้างอินโฟกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์(ตัวอย่าง)

 


หลักการทำสื่อประชาสัมพันธ์ รูปแบบอินโฟราฟิกเคลื่อนไหว นี้ มุ่งเน้นเพื่อการสื่อสารเฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่ใช้ในห้วงเวลาจำกัดผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น การแจ้งเวลาการสอบของนักศึกษา การแจ้งเวล่รับสมัครภาคเรียนใหม่ แจ้งวันเวลาปฐมนิเทศ(ปัจฉิมนิเทศ) การนัดหมาย การประชุม การลงทะเบียนรับสมัครต่างๆ เป็นต้น

สำหรับขนาดที่ใช้กันในโลกออนไลน์ ส่วนใหญ่ค่ามาตรฐานขนาดเล็ก จะอยู่ที่  487 x 255 pixel ส่วนขนาดใหญ่ จะใช้ขนาด 1,024 x 500 px หรือ 1,200 x 630 px (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การนำไปใช้ แต่ยังคงต้องยึดตามอัตราส่วนทั้ง 4 กลุ่ม คือ 1 : 1,  3 : 2,  4: 3 และ 16 : 9

การตั้งค่าความละเอียด
ไฟล์ศึกษาตัวอย่างนี้  ตั้งความละเอียดของไฟล์ภาพ  ที่ 96-150 ppi

การตั้งค่าขนาดพื้นที่สร้างงาน
ไฟล์ศึกษาตัวอย่างนี้  ตั้งค่าขนาดของภาพ  16 : 9  ขนาด 1,024 x 500 px (หรือขนาดเล็ก 487 x 255 pixel)

การตั้งค่า Background
พื้นฉากหลังใช้สีขาว สีดำ หรือ กำหนดสีตามร่างแบบของผู้ออกแบบ

ลักษณะทั่วไปของการสร้างงานลักษณะนี้ จะออกแบบโดยใช้เฟรมเพียงเฟรมเดียว ยกเว้นหากจะมีการเปลี่ยนแปลงชิ้นวัตถุหรือองค์ประกอบของฉากหลัง จึงจะใช้เฟรมเพิ่ม แต่ทั้งนี้ในการเพิ่มเฟรมแนะนำให้ใช้การ DUPLICATE (หรือคำสั่ง Ctrl+D) เฟรมดีที่สุด เพราะจะคงรักษาตำแหน่งของ ASSET ต่างๆไว้ดังเดิม

ก่อนสร้างงานจริง ควรร่างแบบและเตรียม Asset อาทิ Logo หน่วยงาน ภาพประกอบ ชิ้นกราฟิก ที่จะนำมาใช้ประกอบในการสร้างงาน เมื่อคิดว่าพร้อมก้ลงมือสร้างงานด้วย MICROSOFT POWERPOINT



1.เปิดหน้างานสไลด์ใหม่ ตั้งค่าขนาดที่ 1,024 x 500 px (การตั้งค่าต้องตั้งค่าเป็น px )

2.กำหนดสภาพแวดล้อมต่างๆ อาทิ เส้น Gridline เส้น Guide สีพื้นฉากหลัง เป็นต้น

3.สร้างข้อความที่ต้องการสื่อสาร ประชาสัมพันะ์ (แนะนำให้พิมพ์แยกกล่องข้อความออกเป็นส่วนๆ)

4.กำหนดรูปแบบ และสีให้กับตัวอักษร อย่าใช้หลายรูปแบบ (แนะนำควรใช้เพียง 2-3 รูปแบบเท่านั้น) เรื่องของการใช้สีศึกษาได้จาก หลักสูตรพื้นฐานการออกแบบสื่อการเรียนรู้อินโฟกราฟิกเบื้องต้น ด้วย Microsoft PowerPoint

5.สร้างและวางงานกราฟิกต่างๆ ตามที่ได้ร่างแบบไว้

6.กำหนด Animations เน้นจุดสนใจ (การเลือกใช้ animations ต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อความเหล่านี้ถูกแสดงไว้ทั้งหมดแล้ว แต่จุดประสงค์ต้องการสร้างจุดสนใจ ดังนั้น Animations ที่ควรเลือกใช้กับข้อความควรใช้ในกลุ่ม Emphasis) ในที่นี้สมมุติว่า จะเน้นคำว่า นักศึกษาใหม่ 

วิธีการ โดยคลิกที่ คำว่า นักศึกษาใหม่  กำหนด Animations โดยเลือกกลุ่ม Emphasis ในที่นี้ตัวย่อยเลือก GROW/SHRINK ลักษณะรูปแบบจะเป็นการ zoom in/out ที่ข้อความ

7.เปิดเครื่องมือ Animation Pane ออกมาเพื่อกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อเรียก  เครื่องมือจะแสดงทางด้านขวาของพื้นที่สร้างงาน

8.ที่บรรทัดรายการ Animations ของ Asset (ข้อความ) ให้คลิกที่สามเหลี่ยมเล็กๆด้านท้าย

9.ทำการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขดังภาพด้านล่าง

ส่วนของ Effect ที่ SIZE ปรับลดค่าจาก 150% เหลือเพียง 130% หรือตามที่ท่านต้องการ

ส่วนของ Timing ที่ DURATION เลือกค่าที่ 2 seconds(Medium) ที่ REPEAT เลือก Until End of Slide

10.ทำการ EXPORT เป็น Animated GIF


คำแนะนำ
1.ภาพที่นำมาใช้แนะนำควรเป็นภาพที่มีความละเอียดค่อนข้างสูง
2.ดึงขยายภาพให้กว้างกว่าบริเวณของกรอบสไลด์
3.ควรใช้ Gridline และเส้น Guide ช่วยในการสร้างงาน (วิธีเรียกใช้)
4.ศึกษาขั้นตอนการ export เป็น Animated GIF

การประยุกต์นำไปใช้
จากแม่แบบข้างต้นสามารถปรับประยุกต์โดยใช้เครื่องมือชุด DRAWING ผนวกรวมกับเทคนิคทั้ง Animations และ Transitions ออกไปได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งแล้วแต่จินตนาการของผู้สร้าง ดังตัวอย่างด้านล่าง








หมายเหตุ
เพื่อให้การเรียนรู้ และฝึกการทำงาน ต้องใช้ Microsoft PowerPoint 2021 เท่านั้น






ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget