Column Right

การพัฒนานักจัดการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 รัฐบาลได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 และประกาศใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 มีผลบังคับใช้หลังประกาศ 60 วัน และเปลี่ยนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( กศน.) เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ( สกร.) เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566  ภารกิจในด้านการจัดการศึกษามุ่งเน้น 3 ประเด็นหลักคือ
1. จัดการศึกษาและส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
2. เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง
3.การศึกษาเพื่อพัฒนาสนับสนุนคุณวุฒิ

พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ฉบับนี้ ถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส จะสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งจุดเด่นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเดิม จัดตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้” ที่จะขยายตัวรองรับทุกพื้นที่ ตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคใหม่ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มทักษะชีวิต เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงเป็นหน่วยงานที่ต้องมีการปรับตัวให้ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (อ้างอิง https://moe360)


เรามาทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของครู กศน.(ซึ่งเป็นครูผู้สอนเดิม) สู่ภารกิจในกรมใหม่กัน โดยแท้จริงแล้ว ครู กศน.เดิมส่วนใหญ่ก็ดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ มาโดยตลอด ซึ่งจะขอขยายความชี้ชัดใน 2 ประเด็นหลัก ดังนี้
1.ต้องเป็นผู้ให้องค์ความรู้
ดำเนินการวางแผน จัดสร้าง ผลิต (เนื้อหา สื่อ วิธีการ องค์ประกอบสนับสนุน)
ดำเนินการถ่ายทอด
2.ต้องเป็นผู้ประสานองค์ความรู้
คัดเลือก สรรหาแหล่งเรียนรู้/บุคคลผู้มีความรู้
ร่วมศึกษาเรียนรู้ไปพร้อมกัน
สนับสนุนจัด/พัฒนาสื่อประกอบการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ (Learning Management)
เป็นกระบวนการหรือวิธีการใด ๆ ที่ครู ผู้จัดหรือผู้สอน หรือผู้ถ่ายทอด นำมาใช้หรือประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ เกิดทักษะนำไปสู่การพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้านตามความต้องการอย่างเต็มศักยภาพ 

การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ครู ผู้จัดหรือผู้สอน หรือผู้ถ่ายทอดจะต้องมีความรู้ ทักษะในการใช้กระบวนการหรือวิธีการสื่อสาร การส่งผ่านความรู้ รวมถึงเลือกใช้เครื่องมือ ช่องทางในการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อกับผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม 

หลักพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้
ชัยยงค์ พรหมวงค์ ได้อธิบายถึงหลักการพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้สามารถสรุปได้ 4 ประการคือ

1. หลักการเตรียมความพร้อมพื้นฐาน
ได้แก่ การเตรียมตัวผู้สอนด้านความรู้ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และด้านการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ 

2. หลักการวางแผนและเตรียมการจัดการเรียนรู้
ได้แก่ การเตรียมเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การผลิตสื่อ เตรียมแบบทดสอบและซ้อมสอน

3. หลักจิตวิทยาการเรียนรู้
เช่น หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักการเร้าความสนใจหลักการเสริมแรง เป็นต้น 

4. หลักการประเมินผลและรายงานผล
ซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ การสร้างและการใช้เครื่องมือการประเมิน การตีความหมายและการรายงานผลการประเมิน

นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาท่านอื่นๆ ได้ให้ความหมายของ การจัดการเรียนรู้ อาทิ
วิชัย ประสิทธ์วุฒิเวชช์ (2542 : 255) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีระบบระเบียบครอบคลุมการดำเนินการตั้งแต่การวางแผนการจัดการเรียนรู้จนถึงการประเมินผล 

การพัฒนานักจัดการเรียนรู้ตามเป้าประสงค์
การส่งผ่านความรู้ ความเข้าใจ ไปสู่กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน โดยเลือกใช้ สื่อ เครื่องมือ และชุดเนื้อหา ด้วยเทคนิค วิธีการ อย่างเหมาะสม

ข้อสังเกตการพัฒนานักจัดการเรียนรู้ตามเป้าประสงค์

1.ปรับรูปแบบการถ่ายทอดไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคม
2.เลือกใช้สื่อประกอบตามความพร้อมของกลุ่มเป้าหมาย
3.มีแนวทางการพัฒนาสื่อด้วย Software / App ที่ใช้เป็น
4.มีความรู้(เทคนิค)วิธีการถ่ายทอด(นำเสนอ)
5.มีคลังสื่อและข้อมูลสำหรับจัดการเรียนรู้และนำไปใช้ในแต่ละมิติ


1.ปรับรูปแบบการถ่ายทอดไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคม อาทิ
ความสนใจของกลุ่มชนในสังคม
สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง(มีผลกระทบ)ภายในสังคม
ลักษณะเฉพาะกลุ่มของชุมชนในสังคม(เทคโนโลยี)

2.เลือกใช้สื่อประกอบตามความพร้อมของกลุ่มเป้าหมาย อาทิ
วิดีทัศน์ (Offline / Online)
อินโฟกราฟิก (Analog / Digital)
Animation สื่อภาพเคลื่อนไหว (Offline / Online)
เอกสาร เนื้อหาหลักสูตร ใบความรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้
ฐานความรู้ (Web-based) เนื้อหาหลัก และแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

3.มีแนวทางการพัฒนาสื่อด้วย Software / App ที่ใช้เป็น
โปรแกรมสร้างเว็บ
(Adobe Muse, Dreamweaver, Google Sites, WordPress etc.)
โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ
(Adobe Photoshop, InDesign, Canva, GIMP, PhotoScape etc.)
โปรแกรมสร้างวิดีทัศน์
(Adobe Premiere Pro, Vegas Pro, VideoStudio Pro etc.)
โปรแกรมสร้างสื่อภาพเคลื่อนไหว
(Animaker, Powtoon, Toonly, Visme, Doodly  etc.)
โปรแกรมสำนักงาน
(Microsoft Word,  Microsoft Excel, Microsoft PowerPoint  etc.)
โปรแกรมสำนักงานออนไลน์
(Microsoft Office 365,  Google DOCS  etc.)

4.มีความรู้(เทคนิค)วิธีการถ่ายทอด(นำเสนอ) อาทิ
การเป็นผู้พูดหรือผู้นำเสนอที่ดี
หลักการบรรยายสรุป
เทคนิคและวิธีการนำเสนอ
จิตวิทยาของการถ่ายทอด

5.มีคลังสื่อและข้อมูลสำหรับจัดการเรียนรู้และนำไปใช้ในแต่ละมิติ อาทิ
สื่อข้อมูลหลัก (เอกสาร, PowerPoint Outline + Media)
Data & Media Bank (Picture, Video, Animation, Sound, Infographics และชุดกิจกรรม) วางในระบบบริหารจัดการหลักสูตร (Google Drive) แสดงผ่าน Webpage สำหรับ Download

หมายเหตุ สื่อทุกรายการต้องมี
(1)กรอบเนื้อหา
(2)มีเป้าประสงค์ในการสื่อสาร ที่เรียบง่าย
(3)มีพลังต่อการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้ที่ประสบผลสำเร็จนั้น อาจจะไม่ได้มาจากคนเพียงคนเดียว ควรขับเคลื่อนโดยคณะทำงานที่มีความรู้ ความพร้อมในด้านต่างๆร่วมมือกันในการพัฒนาและขับเคลื่อน เราเรียกว่า ทีมนักจัดการเรียนรู้

ทีมนักจัดการเรียนรู้  เป็นกลุ่มคนที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนการทำงาน  ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน  รวมถึงกิจกรรมต่างๆ   โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ ดังนี้
1.ความรู้ (ภูมิรู้)
2.สื่อประกอบ
3.วิธีการและช่องทางการถ่ายทอดความรู้
4.ทักษะการถ่ายทอด

1.ความรู้ (ภูมิรู้)
1.1 ผู้ขับเคลื่อนโครงการทุกระดับได้รับการเพิ่มทักษะและความรู้ พร้อมๆกัน หรือผ่านกระบวนการที่เหมือนกัน
1.2 ผู้ขับเคลื่อนโครงการต้องเข้าใจสาระเนื้อหา หรือวิธีการ บนแกนหรือเส้นทางหลักเดียวกัน

2.สื่อประกอบ
2.1  ผู้ขับเคลื่อนโครงการต้องบริหาร จัดการ และเลือกใช้สื่อ(ที่มีอยู่เดิม แสวงหาใหม่ หรือสร้างขึ้นใหม่) อย่างเหมาะสม
2.2  ผู้ขับเคลื่อนโครงการมีความรู้ในการพัฒนา-สร้าง สื่อ เครื่องมือ (สื่อเอกสาร เสียง ภาพ วิดีโอ และอินโฟกราฟิก)

3.วิธีการและช่องทางการถ่ายทอดความรู้
3.1 สำรวจ หรือหา หรือจัดลำดับความสำคัญ ในการเลือกจัดการเรียนรู้เฉพาะเรื่องของชุมชน
3.2 ผู้ขับเคลื่อนโครงการมีวิสัยทัศน์ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้
3.3 ผู้ขับเคลื่อนโครงการต้องมีจิตวิญญาณในการถ่ายทอด
3.4 การขับเคลื่อนโครงการควรเน้นกิจกรรมประกอบการเรียนรู้มากกว่าการบรรยาย

4.ทักษะการถ่ายทอด
4.1 ผู้ขับเคลื่อนโครงการ จะต้องเข้าใจเนื้อหา เลือกและประยุกต์ใช้เครื่องมือ หรือวิธีการเพื่อการสื่อสารอย่างเหมาะสม
4.2 ผู้ขับเคลื่อนโครงการ มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
4.3 ผู้ขับเคลื่อนโครงการสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการได้ตามสถานการณ์

ส่วนท้ายนี้ จะขอนำเสนอ TPACK Model (Technological Pedagogical and Content Knowledge) ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นกลไกสำคัญในการจัดการเรียนรู้ได้ดี

เกิดจากการหลอมอย่างลงตัวของความรู้  3 องค์ประกอบหลัก คือ
ด้านเนื้อหา (CK)
ด้านการจัดการจัดการเรียนรู้ (PK) และ
ด้านเทคโนโลยี (TK)
นอกจากนี้ยังมีความรู้อื่น ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลักทั้ง 3 คือ
1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการจัดการเรียนรู้เนื้อหา (PCK)
2. ความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในเนื้อหา (TCK)
3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี(TPK)  


ความรู้ด้านเนื้อหา Content Knowledge (CK)
คือ สาระเนื้อหา, ข้อมูล, แนวคิด, ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำผู้เรียนบรรลุไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งผู้สอนต้องมีความเชี่ยวชาญ ชัดเจน ตลอดจนแนวทางการพัฒนาความรู้ ในเนื้อหาหลักสูตรทั้งสี่มิติ

ความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ Pedagogical Knowledge  (PK)
ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ วิธีการและเทคนิคในการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน จุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 

ความรู้ด้านเทคโนโลยี Technological Knowledge  (TK)
ความรู้การประยุกต์ใช้ชิ้นส่วนสื่อ (media object) การเลือกใช้อุปกรณ์และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นำมาสร้างสรรชิ้นส่วนสื่อและใช้ในการจัดการเรียนรู้ 

ชิ้นส่วนสื่อ (media object) หมายถึง สื่อประกอบการสอน การแนะนำ การทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ (รูปภาพ กราฟิก อินโฟกราฟิก ใบกิจกรรม เป็นต้น) สื่อดิจิทัล (ไฟล์เอกสาร ไฟล์ภาพ ไฟล์อินโฟกราฟิก ไฟล์วิดีทัศน์ หน้าเอกสารเว็บ เป็นต้น) 
ความรู้ด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน  Pedagogical Content Knowledge  (PCK)
เป็นการบูรณาการ ระหว่างความรู้ด้านเนื้อหา (CK) กับความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ (PK) ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดลำดับการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การประเมินผล ซึ่งผู้จัดการเรียนรู้ต้องปรับให้สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย
ความรู้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในเนื้อหา Technological Content Knowledge  (TCK)
ความรู้ที่เกิดจากออกแบบ หรือเลือก หรือบูรณาการเทคโนโลยี (TK) นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเนื้อหา (CK) อย่างเหมาะสมช่วยให้การนำเสนอหรืออธิบายเนื้อหาเข้าใจง่ายและเป็นรูปธรรมต่อการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียนมากที่สุด
ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ Technological Pedagogical Knowledge  (TPK)
ความรู้ที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี (TK) ที่มีอยู่ หรือสร้างขึ้นใหม่ นำมาบูรณาการร่วมกับความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ (PK) นำมาจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ เนื้อหา หรือหลักสูตรในแต่ละเรื่อง ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget