(10)ส่วนประกอบใน(การเขียน)บทความ
ในการนำเสนอข้อมูลชุมชนจะนำเสนอในลักษณะสารคดี หรือบทความ ข้อมูลชุมชนที่เขียนขึ้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ถูกต้องไม่เบี่ยงเบน ข้อสำคัญในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเช่นนี้ อย่าเอาความรู้สึกและอารมณ์ตัวเองแอบแฝงลงในบทความที่เป็นข้อมูลชุมชนเด็ดขาด อีกทั้งไม่ตั้งประเด็นที่อาจะก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ เรามาดูโครงสร้างกันว่า มีกี่ส่วน
ชื่อเรื่อง หรือหัวเรื่อง (Title) เป็นคำที่มีลักษณะ เห็นแล้วโดนใจหรือน่าสนใจ
ส่วนนำเรื่อง (Introduction) เป็นส่วนเปิดเรื่อง หรือนำเสนอสาระสำคัญของเรื่อง หรือนำเสนอส่วนที่สืบเนื่อง(กรณีเล่าเรื่องต่อ)
ส่วนเนื้อเรื่อง (Content) เป็นรายละเอียดหรือใจความของเรื่องราวทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 70% ลักษณะการนำเสนอบทความควรเขียนแบบหลายย่อหน้า คั่นด้วยภาพประกอบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่ควรเขียนให้แต่ละย่อหน้ามีความยาวมากๆ (แต่ละย่อหน้าความยาวประมาณ 4 – 6 บรรทัด A4)
บทสรุปเรื่อง (Summary) เป็นส่วนสรุปประเด็นสำคัญของเรื่อง ไม่จำเป็นต้องยาว บทความที่ดีต้องมีการจบหรือปิดเรื่องคม หรือหนักแน่น มีวัตถุประสงค์อย่างเด่นชัดว่าต้องการอะไร และมีเหตุผลที่เชื่อถือได้
ส่วนอ้างอิง (Reference) ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ หากเป้นเรื่องที่ผู้เขียน เขียนเองจากประสบการณ์ก็ไม่จำเป็นต้องมี ที่อยู่ท้ายบทความ จะบอกรายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์ บทความวารสาร บทความหนังสือพิมพ์ หน้าเว็บเอกสาร รวมทั้งสื่อบันทึกเสียง และสื่อบันทึกวีดีโอต่างๆ ที่เรานำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียน
ชื่อเรื่อง หรือหัวเรื่อง (Title / head) เป็นคำหรือข้อความที่ผู้เขียนเรื่องต้องตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ จูงใจ สะดุดตา ในการเข้าติดตามการอ่านเนื้อหา ถ้าชื่อเรื่องไร้พลังดึงดูดการเข้าอ่าน อาจส่งผลให้ผู้อ่านข้ามผ่าน หรือไม่สนใจได้ ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องเห็นแล้วต้องโดน เห็นแล้วน่าสนใจ น่าอ่าน การตั้งชื่อเรื่องที่ดี ต้องสั้น จดจำได้ง่าย กระชับได้ใจความ กระตุ้นความสนใจ ที่สำคัญ ต้องสอดคล้องกับเนื้อหาด้วย ช่วงเวลาการตั้งชื่อของเรื่อง อาจจะตั้งหลังจากเขียนเรื่องเสร็จก็ได้
ส่วนนำเรื่อง (Introduction) เป็นส่วนเปิดเรื่อง หรือนำเสนอสาระสำคัญหรือประเด็นสำคัญของเรื่อง หรือเล่าเรื่องคร่าวๆ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โทนเรื่องไปแนวทางใด ส่วนนี้นับเป้นส่วนสำคัญที่ต้องตรึงอารมณ์ให้ผู้อ่านต้องอ่าน หรือติดตามเนื้อหาต่อไปจนจบ ส่วนนำเรื่องที่ดีต้องสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านให้อยากอ่านบทความต่อไป ลักษณะการใช้ภาษาและข้อความที่กระชับเร้าใจ ในส่วนนี้จะอยู่ตอนต้นของบทความ (ย่อหน้าแรก) หรือนำเสนอส่วนที่สืบเนื่อง(กรณีเล่าเรื่องต่อ)
ส่วนเนื้อเรื่อง (Content) เป็นรายละเอียดหรือใจความของเรื่องราวทั้งหมด ร้อยเรียงมาเป็นลำดับ อาจใช้การเขียนทั้งแบบแบบพรรณนา หรือแบบบรรยายความก็ได้ การนำเสนอเนื้อหา ผู้เขียนต้องพิจารณารูปแบบในการนำเสนอเรื่องราวให้เหมาะสมด้วย อาจจะเป็นทั้งการบอกเล่า การเล่าเรื่องราว หรือการให้รายละเอียดของปัญหา ความสำคัญของเรื่อง หากเป็นการสรุปข้อมูลจากผู้รู้ ภูมิปัญญา หรือจากการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ต้องมีส่วนอ้างอิง ไม่ว่าจะเป็นคน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรืองานวิจัยต่างๆ จะต้องระบุลงไปในส่วนท้ายบทความ หรือส่วนอ้างอิงด้วย ในส่วนของเนื้อหา คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 70% ลักษณะการนำเสนอบทความควรเขียนแบบหลายย่อหน้า คั่นด้วยภาพประกอบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่ควรเขียนให้แต่ละย่อหน้ามีความยาวมากๆ (แต่ละย่อหน้าความยาวประมาณ 4 – 6 บรรทัด A4)
บทสรุปเรื่อง (Summary) ถือเป็นอีกส่วนที่สำคัญของบทความ เพราะเป็นส่วนที่จะสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน เป็นส่วนที่ ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญในเชิงสรุปของเนื้อหาที่นำเสนอมาแต่ต้น ไม่จำเป็นต้องยาว บทความที่ดีต้องมีการจบหรือปิดเรื่องที่คม หรือหนักแน่น บนเรื่องราวหรือวัตถุประสงค์ของเนื้อหาที่นำเสนอมาอย่างเด่นชัด ชี้หรือตอกย้ำถึงเหตุผลที่เชื่อถือได้ ในส่วนสรุปท้ายบทความในฐานะผู้เขียน อย่าเอาความรู้สึกและอารมณ์ตัวเองแอบแฝงลงในบทความที่เป็นข้อมูลชุมชนเด็ดขาด อีกทั้งไม่ตั้งประเด็นปิดท้ายเรื่องราวที่อาจะก่อให้เกิดความคล้อยตาม หรือเกิดความขัดแย้งได้ บทสรุปเรื่องที่ดีต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ของการเขียน ทิ้งประเด็นข้อคิดเห็นให้ผู้อ่านคิดตามได้
ส่วนอ้างอิง (Reference) ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ หากเป็นเรื่องที่ผู้เขียน เขียนเองจากประสบการณ์ก็ไม่จำเป็นต้องมี แต่ถ้าเป้นเรื่องที่นำมาจากคำบอกเล่า จากการสัมภาษณ์ หรือจากเอกสาร ผลงานวิชาการ งานวิจัย ก็จำเป็นต้องบอกบอกรายชื่อ ผู้ให้ข้อมูล หรือหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ที่ได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ