Column Right

(12)ลักษณะภาพที่ใช้ร่วมกับบทความ

ภาพ (ภาพถ่าย และ กราฟิก) ถือเป็นอีกองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้ทุกๆประเภmโดยเฉพาะบทความ ภาพจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้อ่านได้เห็นรายละเอียดและเข้าใจเนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น เกิดมุมมองและความเข้าใจที่ตรงกัน


ถ้ากล่าวว่าภาพ (ภาพถ่าย และ กราฟิก) สำคัญกับบทความ เรามาดูกันว่า สำคัญในแง่มุมใดบ้าง

1.สื่อสาร สื่อความหมายที่รวดเร็ว

ภาพที่สร้าง หรือเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว จะมีพลังและมีประสิทธิภาพต่อการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดสาระ เรื่องราวได้ง่าย และรวดเร็ว การเลือกภาพให้ตรงกับความหมายจะช่วยให้สื่อความหมายได้อย่างตรงความต้องการมากขึ้น

2.เพิ่มความน่าสนใจ

มนุษย์จะให้ความสนใจต่อสิ่งที่มองเห็นเป้นลำดับต้น มากกว่าการอ่าน ดังนั้นหากนำภาพที่มีพลังต่อการสื่อความหมาย ภาพนั้นจะเป็นส่วนสำคัญในการชักจูงให้คนเข้ามาอ่านบทความ

3.ช่วยเล่าเรื่อง

นอกจากนี้ เพราะการเล่าเรื่องต่างๆ นั้นจะมีความน่าสนใจและติดตามขึ้นได้ เราต้องทำให้เกิดเป็นเรื่องราว มีความกระตุ้นอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก อีกทั้งการใช้ภาพประกอบจะช่วยให้มองเห็นสิ่งที่ต้องจะสื่อได้มากขึ้น ประกอบให้เนื้อหาของเรามีความสมบูรณ์มากขึ้น พร้อมทั้งการใช้ภาพถ่ายนี้จะช่วยให้เกิดจินตนาการ และเสริมเรื่องราวต่างๆ ให้มีความดึงดูดผู้อ่านมากขึ้น และเชื่อหรือไม่ว่า คนส่วนใหญ่นั้นมักจะทำความเข้าใจเนื้อหาโดยคร่าวอย่างรวดเร็วด้วยการมองภาพประกอบ


ภาพหรือภาพถ่ายเป็นอีกสิ่งสำคัญของการสื่อสาร  การสื่อความหมายในทุกวงการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาภาคธุรกิจ รวมถึงด้านความมั่นคง ภาพยังเป็นส่วนสำคัญที่เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบันและอนาคตเข้าหากัน มีคำกล่าวว่า  ภาพที่ดีเพียงภาพเดียวแทนคำบรรยายได้นับ 1,000 คำ (A picture is worth a thousand words) บทความหรือสารคดีที่เขียนขึ้น จึงต้องมีภาพมาประกอบเนื้อหาที่เขียนขึ้น  เพื่อให้บทความหรือสารคดีที่เขียนขึ้นนั้นมีความสมบูรณ์  น่าเชื่อถือ  เรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน  ภาพที่นำมาใช้จึงต้องเล่าเรื่องได้ หรือส่งเสริมเนื้อหาให้โดดเด่น  ภาพกับเรื่องราวที่เขียนต้องเป็นเรื่องเดียวกัน หรือไปในทิศทางเดียวกัน  ถ้าเป็นภาพถ่ายจะต้องเป็นภาพที่ถ่ายจากแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยคนเขียนเรื่องหรือทีมงาน ด้วยมุมมองของภาพหลายมุมมอง หากเป็นภาพแบบอื่น ต้องสามารถสนับสนุนเนื้อเรื่องได้ดี ไม่เกิดความขัดแย้ง

ในการถ่ายภาพที่นำมาใช้นั้น ภาพที่ได้ต้องมีองค์ประกอบที่ดี อาทิ

1.คุณลักษณะในการเสนอเรื่องราว (การอธิบาย การสื่อความหมาย)
   หากภาพที่ถ่ายหรือนำมาใช้ มีพลังต่อการสื่อความหมายได้มาก จะส่งผลให้เรื่องราวนั้น สั้นกระชับลง มีความชัดเจน น่าสนใจและน่าติดตาม เพิ่มความน่าเชื่อถือของผู้เขียนเรื่อง 

2.คุณลักษณะทางภาพ (ความอิ่มของแสง-สี มุม ลักษณะภาพ)
   นอกจากภาพที่สามารถเล่าเรื่องราวต่างๆได้แล้ว อีกเสน่ห์สำคัญก็คือ ภาพที่ดีต้องตรึงสายตา มีความโดดเด่นในเรื่องของแสง สีที่สวยสด การวางมุมภาพในลักษณะต่างๆ (หากมีโอกาสและเวลาจะได้นำมาพัฒนาหลักสูตรเรื่องนี้ในอนาคต)

ลักษณะของภาพที่ใช้เผยแพร่กันในหน้าเว็บ มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1.ภาพแนวตั้ง
2.ภาพแนวนอน
แต่ภาพแนวนอนจะนิยมใช้มากที่สุด


ประเภทของภาพถ่ายที่ใช้ในการประกอบการนำเสนอบทความ

ภาพถ่ายบุคคล(Portrait)
ลักษณะภาพจะเน้นที่ตัวบุคคล มีการแสดงออกถึงอารมณ์ผ่านทางแววตา ท่าทางกิจกรรม แสง บรรยากาศ โดยอาจจะมีองค์ประกอบอื่นร่วมแต่ต้องไม่ลดคุณค่าของตัวบุคคล

ภาพระยะใกล้(Close up)
ภาพที่เน้นความสำคัญของวัตถุที่ถ่าย แสดงหรือสื่อสารผ่านภาพ ที่มีความชัดเจน เช่น ลวดลาย สีสัน ภายในองค์ประกอบร่วม 

ภาพถ่ายมุมกว้าง(Landscape)
ภาพลักษณะนี้เป็นภาพถ่ายวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ ที่ให้ความสำคัญกับการวางฉากหน้า ฉากหลัง หรือ ช่วงเวลาของแสงธรรมชาติ 

ภาพวิถีชีวิต(Life)
ถ่ายภาพวิถีชีวิต เป็นการถ่ายภาพจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เน้นเรื่องเป็นจริงของสภาพสังคม วิถีชีวิต เป็นภาพที่ไม่ต้องสร้างสรร หรือจัดฉาก ไม่จำกัดสถานที่ 

ภาพสำเนาเอกสาร(Scan & Copy)
เป็นภาพที่ได้จากการถ่าย หรือสำเนาเอกสาร ซึ่งภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเอกสาร หรือหนังสือ การถ่ายต้องพิถีพิถัน ระมัดระวังเรื่องโฟกัส แสง และเงา ของสมาร์ทโฟนและเงาคนถ่ายเอง

ภาพสำเนาภาพ(Photographic copy)
เป็นภาพที่ได้จากการถ่าย รูปภาพนิทรรศการ ซึ่งการถ่ายภาพประเภทนี้ต้องระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์ อีกทั้งองค์ประกอบของภาพอาจจะขาดหรือไม่ครบถ้วน รวมถึงแสงที่สาดส่องผลงานภาพ

คุณค่าและคุณภาพที่ดีของภาพถ่ายประกอบบทความ
1. เรื่องราวของภาพ (Story)
ภาพถ่ายที่ดีจะต้องเล่าเรื่องได้ เมื่อคนดูภาพที่นำมาใช้ร่วมกับบทความ ผู้อ่าน(ดู) เกิดความเข้าใจ เกิดอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องราว ภาพบางมุมมองต้องขยายความในเนื้อหาได้ เพราะ บางทีการเล่าเรื่องด้วยถ้อยคำอาจจะไม่ชัดเจน เช่นเรื่องของโทนสี หรือแสง สีหน้า อารมณ์ ภาพจะสามารถทดแทนคำบรรยายได้ในหลายๆประโยค
2. บรรยากาศของภาพ (Atmosphere)
ภาพที่ดีกว่าจะได้มาบางครั้งต้องปรับตำแหน่งในการถ่าย เพราะสิ่งแวดล้อมในภาพ เป็นทั้งส่วนช่วยเสริม เพิ่มคุณค่า แต่บางครั้งสิ่งแวดล้อม ในมุมภาพนั้นก็เป็นส่วนทำลายคุณค่าของภาพด้วยเช่นกัน
3. อารมณ์ของภาพ (Mood)
ภาพที่ดีต้องสื่อความหมายที่เด่นชัด สามารถส่งผลต่ออารมณ์ ชื่นชม (เช่นลายผ้า ลวดลายของพระอุโบสถ) ความสดชื่น ความประทับใจ (street view) หรือเกิดความรู้สึกเสียดาย หรือรับรู้ถึงคุณค่าที่ควรอนุรักษ์ (ภาพทรุดโทรมของแม่น้ำวัง)
4. การจัดองค์ประกอบของภาพ (Composition)
เป็นการจัด ปรับแต่ง หรือจัดวาง หรือจัดมุม หาจุดเด่น สภาพแวดล้อม ก่อนการถ่ายภาพ โดยต้องคำนึงถึง มุมมองของลายเส้น การให้ความสำคัญคุณค่าของแสงและเงา หรือใช้จุดเด่นความสมดุล หรือความแตกต่าง การจัดดุลยภาพ การใช้หลักเส้นนำสายตา หรือทฤษฎีกฏสามส่วน ซึ่งหลักการต่างๆเหล่านี้จะส่งเสริมให้ภาพที่ถ่ายมีพลังในการถ่ายทอดสาระเนื้อหา ให้มีความโดดเด่น น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของ Composition จะได้กล่าวแทรก ในลักษณะของภาพในเนื้อหา ถัดไป
5. เทคนิคการถ่ายภาพ (Shooting technique)
การถ่ายภาพเพื่อนำมาใช้ในบทความ ไม่ต้องการเทคนิคพิสดารใดๆ ขอให้เน้นที่การสื่อสาร การเล่าเรื่องที่ชัดเจนในทุกๆมิติ (ตามหลักการเรื่องราวของภาพ ในข้อที่ 1) ภาพที่นำมาใช้ในบทความต้องเล่าเรื่องได้ (อาทิ หลักของใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ได้ผลอะไร) หรือชี้นำ ชักชวนอารมณ์ผู้อ่านให้เข้าไปสู่เรื่องราวได้ (เช่น ความวิจิตร งดงาม ความอลังการ์ของวัด) ที่สำคัญภาพต้องมีความคมชัด มีสีสันที่อิ่ม ก็จะส่งผลให้ภาพนั้นแสดงพลังของตัวเองที่เด่นชัด

ในเรื่องของการถ่ายภาพ มีรูปแบบ หรือประเภทของภาพถ่ายมากมายหลากหลายทฤษฎี ซึ่งนักถ่ายภาพ แต่ละสำนักต่างก็แบ่งย่อยประเภทของภาพถ่ายไว้อีกหลายแบบ อาทิ
https://expertphotography.com/types-of-photography/
https://www.stocksy.com/blog/types-of-photography/
https://shotkit.com/types-of-photography/
https://www.photoblog.com/learn/types-of-photography/


ท้ายสาระ
แม้ว่าระบบกล้องใน Smartphone จะไม่มีคุณภาพดีเยี่ยมเท่ากับกล้อง DSLRs (digital single-lens reflex camera) แต่จงเชื่อมั่นในความตั้งใจก้าวไปสู่หลักพื้นฐานของการถ่ายภาพเพื่อที่จะถ่ายสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า ผลที่ได้ในการถ่ายภาพก็อาจจะไม่ด้อยไปกว่ากล้อง DSLRs ไปมากนัก จงเชื่อในพลังและความตั้งใจ

หมายเหตุ
เนื้อหาในส่วนนี้นำมาจากบางส่วนของสื่อประกอบการอบรมเรื่อง "เทคนิคการเขียนข่าวและการถ่ายภาพเพื่องานข่าวและประชาสัมพันธ์ (mediathailand : 2013-2016)"

ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget