Column Right

(17)องค์ประกอบสนับสนุนอื่นๆ

   ในการพัฒนาเว็บข้อมูลความรู้ชุมชน(ประชาชน) โดยคนของชุมชนนั้น การจัดเก็บและเผยแพร่ผ่านกลไกของ Web Application ของ Google ส่วนบุคคล หรือประเภทการศึกษา (Google Workspace for Education Fundamentals)  ซึ่งมีเครื่องมือมากมาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งในส่วนการพัฒนาสร้างหน้าเว็บ (Web page) พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเว็บ (Web Server) และการเผยแพร่(ออนไลน์) ในรูปแบบเว็บไซต์ (Website) นอกจากนี้รูปแบบและกระบวนการสร้าง ยังสร้างสรรงานได้ง่าย ซึ่งการพัฒนาเราจะยึดมาตรฐานขององค์ประกอบของเว็บทั่วๆไปเป็นหลักเบื้องต้น

ในการสร้างหน้าเว็บ (Web page)หรือเอกสารเว็บ (Web Document) แต่ละหน้าเว็บ จะมีองค์ประกอบต่างๆที่ร่วมกันแสดงผลเป็นหน้าข้อมูล ซึ่งองค์ประกอบ ดังกล่าว แยกออกได้ ดังนี้

1.ข้อความ ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์
2.ภาพ
3.Interface
4.สื่อมัลติมีเดีย
5.ส่วนสนับสนุนอื่นๆ

สำหรับในตอนนี้จะเป็นเรื่องสุดท้ายขององค์ประกอบหรือส่วนประกอบของหน้าเว็บ ซึ่งองค์ประกอบนี้ จะมีใช้หรือไม่มีก็ได้ หรือเลือกใช้ในบางส่วนก็ได้ กล่าวโดยรวมๆว่าเป็นส่วนสนับสนุนอื่นๆ แล้วกัน

นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการนำองค์ประกอบร่วม นำมาสนับสนุนในการสร้างและนำเสนอข้อมูลผ่านหน้าเอกสารเว็บ ซึ่งองค์ประกอบร่วมเดังกล่าว บางส่วน มีใน Web application นี้ แต่บางส่วน ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง บางส่วนอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งส่วนสนับสนุน ดังกล่าว พอจะแบ่งออกได้ ดังนี้ 

1.ภาษาคำสั่งหรือส่วนเสริมคุณลักษณะเฉพาะ
2.องค์ประกอบสนับสนุนของ Google อื่นๆ อาทิ ปฎิทิน  ฟอร์มข้อมูล ตาราง แผนภูมิ แผนที่ ไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์(อ้างอิง)
3.เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) 

เรามาศึกษาเรื่องราวเหล่านี้กัน 


ภาษาคำสั่งหรือส่วนเสริมคุณลักษณะเฉพาะ
ภาษาคำสั่งหรือส่วนสนับสนุนคุณลักษณะเฉพาะ  ตรงส่วนนี้ ผู้สร้างต้องมีความรู้ด้านภาษาคำสั่งของเว็บ ในการที่จะนำเอาองค์ประกอบอื่นๆ หรือสิ่งต่างๆ เข้ามาแสดงผลในหน้าเว็บ อาทิ ตัวอย่าง 


การนำไฟล์เสียงมาแสดงผล ก็ต้องเขียนคำสั่ง ให้หน้าเว็บสามารถเล่นไฟล์เสียงได้


หรือการนำเอาช่องทางสื่อสารทางสังคมออนไลน์ (Social network) ให้มาแสดงผลผลหน้าเว็บ ก็ต้องใช้ภาษาคำสั่งพิเศษ




การนำเอาช่องทางสื่อสารทางสังคมออนไลน์ (Social network) ให้มาแสดงผลผลหน้าเว็บ ก็ต้องใช้ภาษาคำสั่งพิเศษ

องค์ประกอบสนับสนุนอื่นๆ ของ Google
Application ร่วมของ Google ที่สามารถนำมาใช้ได้ โดยตรง อาทิ ปฏิทิน(Google Calendar) แผนที่ (Google Map) แบบฟอร์ม (Google Forms) เอกสาร (Google Docs) ตาราง(Google Sheets) เป็นต้น

ซึ่งในการฝึกปฏิบัติ จะได้ แนะนำวิธีการนำ Application ร่วมของ Google เหล่านี้ มาสนับสนุนและเสริมประสิทธิภาพหน้าเว็บให้มีศักยภาพสูงสุด


เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality)
เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีกลุ่มนี้ สามารถตอบสนองการใช้งานได้หลากหลายจุดประสงค์ไม่ว่าเป็นด้านความบันเทิง การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality)ประกอบด้วย ด้วย ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality, VR) , ความเป็นจริงเสริม (augmented reality, AR)  และความจริงผสม (mixed reality, MR) ที่จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ โดยสามารถแสดงผล 3 มิติ ในพื้นที่จริงคล้ายกับภาพโฮโลแกรมจากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เลยทีเดียว   สรุปเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ดังภาพด้านล่างนี้

ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม


ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget