Column Right

Type Motion Infographics : GIF Animation

การสร้างโมชั่นกราฟิกที่ดีจำเป็นต้องมีการวางแผนการสร้างชิ้นงาน การออกแบบ ในการสร้างชิ้นงานจำเป็นต้องใช้โปรแกรมสร้างงานที่มีอยู่หลากหลาย แต่ในบทเรียนชุดนี้ จะเน้นการสร้างงานด้วย Microsoft PowerPoint 



โซเชียลมีเดียได้มีการปฎิวัติจากการใช้ภาพนิ่งตั้งแต่ยุคแรกมานานหลายปี แม้ว่าปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ยังถือว่าเป็นสื่อที่สร้างความสำเร็จอย่างมาก แต่เมื่อพัฒนาการของโซเชียลมีเดียเปิดกว้างมีการนำรูปแบบโมชั่นกราฟิกมาใช้ พบว่าในแวดวงธุรกิจสามารถกระตุ้นยอดขายให้กับแบรนด์ต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรม ในส่วนเส้นทางของการศึกษา โมชั่นกราฟิก ก็สามารถเป็นสื่อที่ถ่ายทอดเรื่องราวได้ชัดเจน และเกิดความเข้าใจที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่ง MOTION INFOGRAPHICs ในเชิงการสื่อสารแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม

MOTION INFOGRAPHICs : GIF Animation

MOTION INFOGRAPHICs : VIDEO

MOTION INFOGRAPHICs : LOGO 

Motion graphic(s) ประเภทแอนนิเมชั่น ในที่นี้ มุ่งเน้นไปที่ไฟล์ประเภท GIF ซึ่งจะมีขนาดเล็ก และสามารถแสดงผลได้ต่อเนื่อแบบวนไปไม่รู้จบ  

GIF (Graphics Interchange Format) เป็นไฟล์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวโดยมีขนาดเล็ก สามารถสร้างได้ทั้งแบบสีพื้นทึบ หรือแบบโปร่งใสได้ โดยการทำงานของไฟล์ Gif หลักๆสามารถทำได้หลายวิธีการ อาทิ

(1)นำไฟล์ภาพนิ่งนำมาเรียงกันและวิ่งเรียงกันจากไฟล์แรกไปจนถึงไฟล์สุดท้าย กระบวนการนี้เรียกว่า Frame by Frame

(2)กำหนดส่วนเคลื่อนไหวด้วยคุณลักษณะเฉพาะของโปรแกรม

เรามาดูกันว่ารูปแบบของ Motion Graphics ประเภท GIF Animation มีรายละเอียดอะไรบ้าง

1. Animated Typography


ถือเป็นอินโฟกราฟิกเคลื่อนไหวแบบพื้นฐานที่ยังทรงพลังต่อการสื่อความหมายและเป็นรูปแบบที่สร้างง่ายที่สุด รูปแบบนี้อาจเรียกว่า kinetic typography ในวงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ถือว่ารูปแบบนี้ยังเป็นรูปแบบที่ยอดเยี่ยม ในการปรากฎต่อสายตาเพียงไม่กี่วินาที ก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างรวดเร็ว


2. Advanced Animated Titles 


ภาพเคลื่อนไหวประเภทนี้ เป็นการออกแบบที่ผสมผสาน ระหว่างคลิปวิดีโอและข้อความที่วางในพื้นที่ว่างที่ได้ออกแบบไว้ 
ในทางเทคนิคหรือการสร้าง เป็นการวางข้อความ คำสำคัญ วางประกอบหรือวางทับฟุตเทจวิดีโอที่มีอยู่ หรือหากจะนำกราฟิกอื่นมาวาง กราฟิกหรือ object ที่มาวางก็ต้องมีคุณสมบัติแบบโปร่งใส ส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่ใช้นามสกุล PNG โดยจะคงความโปร่งใสไว้เพื่อให้สามารถวางเลเยอร์บนวิดีโอหรือไฟล์รูปภาพได้อย่างสมบูรณ์

3. Animated Logos



ในรูปแบบนี้ การออกแบบจะใช้องค์ประกอบจากโลโก้ของหน่วยงานหรือของบริษัท รวมถึงโปรไฟล์ ผลงานนำมาสร้างแอนิเมชั่นแบบไดนามิก เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับอินโฟกราฟิกรูปแบบนี้ 

ดูตัวอย่างโลโก้เคลื่อนไหวทั้ง 26 ตัวอย่างเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ สไตล์ใดที่คุณต้องการใช้สำหรับโลโก้แอนิเมชั่นหน่วยงานของคุณเอง (ตัวอย่าง)

4. Animated Graphic Loops

เป็นอีกรูปแบบที่คล้ายกับ Animated Typography เพียงแต่รูปแบบนี้ จะเน้นในองค์ประกอบต่างๆ ให้แสดงผลแบบวนไปไม่รู้จบที่ไม่เน้นแค่ตัวอักษรในแบบที่ 1 แต่การวนซ้ำจะรวมไปถึงชิ้นส่วนกราฟิก ฉากหลัง ที่เมื่อแสดงผล ต้องแสดงวนซ้ำได้อย่างไร้รอยต่อ สิ่งเหล่านี้สามารถแสดงบนหน้าจอ LED สำหรับกิจกรรมหรือบนหน้าร้าน ในโลกดิจิทัล ลูปกราฟิกสามารถใช้แทนภาพนิ่งสำหรับโฆษณา โพสต์ในโซเชียลมีเดีย หรือรูปภาพเด่นของเว็บไซต์ได้


5. Animated Explainer Videos

การสื่อสารข้อมูลจำนวนมากในไม่กี่คำหรือด้วยภาพเดียวอาจเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อนำมาออกแบบเป็นอินโฟกราฟิกที่ซับซ้อนหลายๆเฟรม ส่งผลให้เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการนำเสนอเรื่องราวที่มีเนื้อหามากๆให้น่าสนใจ ซึ่งการอธิบายด้วยภาพที่เข้าใจง่ายจะส่งผลให้การผู้รับชมซึมซับเนื้อหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เข้าใจตรงกันได้มากขึ้น

วิธีการนี้พื้นฐานเดิมต้องใช้เทคนิคและเครื่องมือด้านการตัดต่อวิดีทัศน์ แต่สามารถนำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้กับแบบ GIF Animation ได้

6. Product Animations

Product Animations เป็นรูปแบบที่ใช้ตัวอักษรข้อความ ภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกผสมกันเพื่อนำเสนอภาพรวมสั้นๆ เป็นอีกรูปแบบที่วงการธุรกิจนำมาใช้ จึงเรียกวิธีการแบบนี้ว่า Product Animations จุดประสงค์เพื่อนำเสนอสินค้าหรือตัวผลิตภัณฑ์ด้วยภาพนิ่ง สอดแทรกด้วยภาพเคลื่อนไหวและข้อความสำคัญเพื่ออธิบายเฉพาะส่วน

7. UI/UX Animations



UI/UX เป็นแอนิเมชั่นหรือวิดีโออีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยจะเน้นไปที่อินเทอร์เฟซหลักไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือ application หรือธีมของบริษัทหรือหน่วยงานเป็นหลัก

UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในด้านความรู้สึก
UI หรือ User Interface คือ ส่วนที่ใช้เชื่อมต่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน 

8. Animated Ads

โฆษณาแบบเคลื่อนไหวคือวิดีโอสั้น ๆ ที่เน้นประเด็นสำคัญเฉพาะของเนื้อหาไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร จุดเน้น หรือผลสรุปของการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคธุรกิจ วิธีการนี้จะเสริมคำอธิบายแบบแอนิเมชั่นเต็มรูปแบบ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ครอบคลุมช่วงเวลาการนำเสนอไม่เกิน 90 วินาที โดยจะเน้นที่เฉพาะประเด็นสำคัญ หรือเน้นช่วงเวลาพิเศษต่างๆ ปัจจุบันสื่อลักษณะนี้เป็นที่นิยมใช้กันบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, LinkedIn และ YouTube 

9. Transparent Animated Assets

เป็นอีกรูปแบบของการนำเนื้อหาและกราฟิกอธิบายเนื้อหามาใช้งานร่วมกับวิดีโอสั้นๆ โดยชิ้นงานกราฟิกที่สร้างขึ้นต้องมีลักษณะโปร่งใส PNG ทำให้สามารถซ้อนทับบนวิดีโอหรือภาพได้อย่างแนบเนียน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับช่วงแนะนำเข้าสู่เนื้อหา หรือช่วงการเปลี่ยนภาพ

10. Template Editing


นอกจากนี้บริษัท(เว็บไซต์)หลายแห่งจะมีเทมเพลตแม่แบบ เทมเพลตกราฟิกเคลื่อนไหว ลักษณะต่างๆมีไว้ให้บริการกับสมาชิกทั้งในแบบฟรี ฟรีที่มีเงื่อนไข แต่ส่วนใหญ่สิ่งเหล่านั้น ท่านต้องเสียค่าใช้จ่าย อาจจะเป็นรายชิ้น  หรือสมาชิกแบบรายเดือนหรือรายปี ซึ่งผู้เรียนสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ต




ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget